ทุ่มงบกว่า 15 ล้าน ปรึกษารัฐมนตรีฯ ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้งที่รัตนบุรี

เมื่อวันที่ 24  ก.พ 2567 เวลา10.00น.ณ.อ่างเก็บนํ้าห้วยแก้ว  นายบุญสิงห์  วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางชนมณี บุตรวงษ์ ผู้ประสานงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุรินทร์ ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานการบริหารจัดน้ำในพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ณ ศาลาประชาคมบ้านผือ ม.14  ตำบลรัตนบุรี  อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายตวงอัฐ  บุตรวิชา  นายอำเภอรัตนบุรี พร้อมหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอรัตนบุรีและส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การต้อนรับ  

 สำหรับความเป็นมาของอ่างห้วยแก้ว นายทินกร เสงี่ยมศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 5 โครงการชลประทานสุรินทร์ ได้นำเสนอถึงที่มาว่า อ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ก่อสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2508 เป็นการสร้างขึ้นกั้นลำห้วยแก้ว ใช้น้ำเพื่อเป็นการอุปโภคบริโภค รวมทั้งการทำน้ำประปาให้บริการในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภอรัตนบุรี อำเภอสนม และอำเภอโนนนารายณ์ ใช้น้ำในการเกษตร และสถานที่แห่งนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในพื้นที่ด้วย 

สำหรับต้นทุนน้ำที่ใช้สำหรับเป็นแหล่งผลิตน้ำประปา มีพื้นที่รับน้ำฝน 62.50 ตารางกิโลเมตร ความจุ ที่ระดับเก็บกัก 4.92 ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุของอ่างฯ ที่ระดับน้ำสูงสุด 5.7 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ย 12.3 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี โดยปริมาณน้ำปัจจุบัน 2.4 ล้าน ลบ.ม. (ความจุ 49.62%)    อย่างไรก็ตามสำหรับปัญหาที่พบในปัจจุบัน  พบว่าราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค จึงต้องรีบดำเนินการขุดลอกอ่างเก็บน้ำเพื่อให้น้ำสามารถไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำห้วยแก้วได้สะดวก และกักเก็บน้ำได้ในปริมาณมากขึ้น

 ทั้งนี้ได้จัดทำแผนงานขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยแก้วบ้านสร้างบก ตำบลหนองบัวบาน อำเภอรัตนบุรี โดยได้จัดทำแผนงบประจำปีงบประมาณ 2568  ในการขุดลอกใช้งบประมาณทั้งสิ้น 15,000,000 บาท หลังรับฟังสภาพปัญหาที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะได้ลงพื้นที่ไปยังบ้านสร้างบกซึ่งเป็นส่วนฝังขวาของอ่างเก็บน้ำห้วยแก้วซึ่งเป็นเขตพื้นที่ชลประทาน พบ่วาสภาพอ่างโดยทั่วไป มีผักตบชวาและวัชพืชขึ้นปกคลุมจำนวนมาก โดยนายบุญสิงห์  วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า อ่างเก็บน้ำห้วยแก้วสามารถใช้ประโยชน์ได้ถึง 3 อำเภอ ในด้านน้ำประปา น้ำอุปโภค บริโภค ชาวบ้านใช้ประโยชน์น้ำเพื่อการเกษตร  การประมง และการท่องเที่ยว ซึ่งจากที่ได้ลงมาเห็นแล้วพื้นที่ตรงนี้น่าจะสร้างรายได้และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้อย่างมาก  แต่ปัญหาคืออ่างเก็บน้ำเกิดการตื้นเขิน ซึ่งปัญหาหนึ่งมาจากดินสไลด์ จึงต้องคิดปรับแก้ว่าจะช่วยหลือพี่น้องได้อย่างไร โดยเบื้องต้นกรมประมงจะดำเนินการขุดลอกก่อนบางส่วนเพื่อเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำให้มากขึ้น โดยเบื้องต้นจะเริ่มขับเคลื่อนการแก้ปัญหา และคิดว่าจะสร้างสถานที่ตรงนี้เป็นสถานที่หนึ่งในการสร้างรายได้ของชุมชนต่อไป

ภาพข่าว/บุญเรือง เกษรจันทร์/สุรินทร์/รายงาน

ใส่ความเห็น