ป.ป.ช.บุรีรัมย์ ลุยต้าน แก้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน

วันที่ 31มกราคม 2566 เวลา 09.00 น.  ที่โรงแรมสกายวิว รีสอร์ท บุรีรัมย์ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ นางสุรีรัตน์ นวลฉิมพลี ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ พันโท ณรงค์ ชัยเชิดชู ประธานชมรม STRONG ฯ เปิดโครงการ STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า100 คน ใน23 อำเภอของจังหวัดบุรีรัมย์  กิจกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังจิตพอเพียงต้านทุจริต ด้วยการสร้างโมเดล STRONG ให้แก่ประชาชนและทุกภาคส่วนในจังหวัด ปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งความอายและไม่ทนต่อการทุจริต ขยายผลการป้องกันการทุจริตเชิงรุกผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนการรับรู้การทุจริตต่อประชาชนและทุกภาคส่วนในจังหวัดและร่วมมือกับองค์กรต่างๆหรือชมรมอื่นๆพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์

     กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต เพื่อจัดตั้งชมรม STRONG –จิตพอเพียงต้านทุจริตระดับอำเภอ โดยมีโค้ชและคณะกรรมการ ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าหน้าที่จากสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ และแกนนำจากอำเภอทั้ง 23 อำเภอในจังหวัด เข้าร่วมอบบรมอำเภอละ 5 คนเพื่อฝึกฝนให้มีทักษะในการจับตามองพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่ของตนเอง นำไปสู่การแจ้งเบาะแสโดยที่ตนเองไม่ได้รับความเดือดร้อนพร้อมขยายเครือข่ายสู่ภาคประชาชนอำเภอละ50 คน เพื่อสร้างสังคมต่อต้านการทุจริต

นางสุรีรัตน์ นวลฉิมพลี ผอ.ส ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ “กล่าวว่า”   ปัจจุบันประเทศไทยยังเผชิญกับปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญและมีอยู่ในสังคมไทยมาอย่างช้านาน จนเป็นที่ประจักษ์ว่าการทุจริตมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศโดยรวม ทั้งในแง่ของระบบเศรษฐกิจสังคมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยังส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนต้องร่วมมือกันในการรักษาสิทธิและหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 50 โดยข้อ (10) กำหนดว่า พลเมืองไทยต้องไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ     

ทั้งนี้ ปัญหาการทุจริตส่วนหนึ่งเกิดจากกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่มีความรู้ มีทุน และมีอำนาจทางการเมือง ได้มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ อันมิควรได้สำหรับตนเองและผู้อื่น ประกอบกับสังคมไทยยังยึดติดกับค่านิยมในทางที่ไม่ถูกต้อง ทำให้การแก้ปัญหาการทุจริตประเทศไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การพัฒนาประเทศไม่สามารถเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นเท่าที่ควร โครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต ในปีงบประมาณ พ.ศ 2566  นี้ ถือว่าเป็นการมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชน รวมทั้งเด็กและเยาวชน อันจะเป็นการเพิ่มความเข้มแข็ง ของชมรมSTRONG – จิตพอเพียงต้นทุจริตในจังหวัดให้มากขึ้น โดยการร่วมบูรณาการแนวคิดโมเดลต้านทุจริตร่วมกับเครือข่ายอื่นๆในพื้นที่

ใส่ความเห็น