“คิกออฟ” รวมพลังรักศรัทธาแก้ไขปัญหายาเสพติด

อำเภอลำปลายมาศ  บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) รวมพลังรักศรัทธาแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการ 4 หน่วยงาน 6 อำเภอ จัดขบวนพาเหรดเดินรณรงค์ ต้านภัยยาเสพติด ไปรอบเมือง  ให้ประชาชน ได้มองเห็นพิษภัยของยาเสพติด  เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหายาเสพติด

เมื่อวันจันทร์ที1 เมษายน พ.ศ.2567 เวลา10.30 น.ที่ กศน.อำเภอลำปลายมาศ  จ.บุรีรัมย์  นายปิยะ ปิจนำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานในพิธี  พร้อมด้วย นายโสภณ  ซารัมย์  สส. บุรีรัมย์  ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาธิการ  ประธานมูลนิธิอาณัตพณ ซารัมย์(ลูกเติ้ง) นายศักดิ์ ซารัมย์ สส. บุรีรัมย์ พล.ต.ต.รุทธพล เนาวรัตน์ ผบก.ภ.จว.บุรีรัมย์ เป็นสักขีพยาน ทำ MOU รวมพลังรักศรัทธาแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการ 4 หน่วยงาน 6 อำเภอ  โดยมีผู้แทนจาก อำเภอลำปลายมาศ อำเภอหนองหงส์, อำเภอคูเมือง, อำเภอพุทไธสง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอนาโพธิ์ เจ้าคณะอำเภอลำปลายมาศ  โรงพยาบาล  สถานีตำรวจ  สาธารณสุข ผู้บริหารการศึกษา ปกครองส่วนท้องถิ่น  และชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  รวมพลังรักศรัทธาแก้ไขปัญหายาเสพติด

โดยมีข้อความบันทึกตกลง ทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือ ในการปฏิบัติงาน ในการสร้างชุมชน ให้เข้มแข็งปลอดยาเสพติด อย่างยั่งยืน แบบบูรณาการ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมือของกระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืนแบบบูรณาการ ให้แก่เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการทุกระดับ  และร่วมสนับสนุนกิจกรรม มาตรการป้องกัน ค้นหา เฝ้าระวังและบำบัดรักษาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดผลสัมฤทธิ์

ก่อนทำ MOU ได้มีจัดขบวนพาเหรดเดินรณรงค์ ต้านภัยยาเสพติด  แต่งกาย เลียนแบบ ปัญหาต่างๆที่ก่อให้เกิดเป็นภัยสังคม โดยตั้งขบวนที่หอพระหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอลำปลายมาศ และได้เคลื่อนขบวนไปที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พร้อมพิธีมอบรางวัลการประกวดขบวนเดินรณรงค์ รวมพลังรักศรัทธาแก้ปัญหายาเสพติด จากนั้น เจ้าคณะอำเภอลำปลายมาศและประธาน ทำพิธีปล่อยขบวนรถ “รวมพลังรักศรัทธาแก้ปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการ” (Kick off)

นายโสภณ  ซารัมย์  สส. 5 บุรีรัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาธิการ   “กล่าวว่า”  เราทำโครงการนี้มาแล้ว 2 ปี  แต่ไม่ค่อยสำเร็จ มีไม่ถึงครึ่งที่เรามาเข้าค่าย  เราเลยมาทำใหม่ โดยเอานายอำเภอ ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ร่วมทั้งหมอ มาปรึกษากัน เลยสรุปได้แผนนี้ออกมาว่า เดียวนี้มีการแบ่งยาเสพติดออกมาเป็นสามประเภท  เช่น ประเภทเสพติด  ประเภทครั้งคราว และประเภทจิตเวช เราจะแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุมันไม่จบ ต้องเริ่มที่ต้นเหตุ คือให้ความรู้แก่ประชาชน  ปรับเปลี่ยนทัศนคติ และทำให้ทุกคนตระหนักว่ายาเสพติดเกินกำลังหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่จะแก้ปัญหาแต่เป็นเรื่องของคนทุกคน//

ใส่ความเห็น