จังหวัดบุรีรัมย์- พช.บุรีรัมย์ ลุยพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ “โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน” ณ พื้นที่ อ.บ้านกรวด เพื่อติดตามการผลิดอกออกผล อย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 10 กันยายน เวลา 09.00 น. นายเดโช วันทนาพิทักษ์  พัฒนาการจังหวัดบุรีรัมย์ มอบหมายให้นายทองใจ  ปุยไธสง ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนายนิธิวัชร์ ทิพย์ประมวลและนายสมศักดิ์ บรรลุ นักวิชาการพัฒนาชุมชนสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ และทีมนักวิชาการเฉพาะกิจลงพื้นที่สนับสนุนงานติดตามผลผลิตและให้คำแนะนำในการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ต้นแบบตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา" กรมการพัฒนาชุมชน ณ พื้นที่อำเภอบ้านกรวดจังหวัดบุรีรัมย์

  🖌️โดยในการลงพื้นที่ดังกล่าวเป็นการลงพื้นที่สนับสนุนงานในแปลงเรียนรู้ต้นแบบที่ปรับเปลี่ยนพื้นที่โดยงบยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนและงบกระตุ้นเศรษฐกิจในวงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 2 แปลง ได้แก่
  1) พื้นที่แปลงศูนย์เรียนรู้ต้นแบบของนางลำไย บุญมี ตั้งอยู่ ณ บ้านสายโท 8 เหนือ ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบงบประมาณจัดสรรของกรมการพัฒนาชุมชนประจำปี 2564 ในจำนวนพื้นที่ 3 ไร่มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ในช่วงเดือนมิถุนายน 2554 จากนั้นนางลำไย ได้มีการปลูกพืชผักรวมทั้งพืชเศรษฐกิจที่จำเป็นตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ ได้แก่ การปลูกป่า 5 ระดับปลูกกล้วยเลี้ยงดิน ปลูกข่า ตะไคร้ ในแปลงและ ปลูกหญ้าเนเปียร์ สำหรับเลี้ยงโค พร้อมทั้งมีการเลี้ยงปลาในบ่อโดยในการเพาะปลูกได้ยึดหลักกสิกรรมธรรมชาติซึ่งได้รับการบ่มเพาะจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา ตามหลักสูตรการพัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงของกรมการพัฒนาชุมชน จนสามารถเป็นแบบอย่างในการดำเนินงานได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน
  2) พื้นที่แปลงเรียนรู้ของนายทองมี ถนาวรณ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้งบกระตุ้นเศรษฐกิจในห้วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 บนพื้นที่ 3 ไร่โดยใช้แบบมาตรฐานของกรมการพัฒนาชุมชนในอัตราส่วน 2 ต่อ 3 ในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน 2564 จากนั้นนายทองมีได้ทำการปลูกพืชผักสวนครัวพื้นฐานได้แก่พริกข่า ตะไคร้ รวมทั้ง พืชพันธุ์ อื่น ๆ เช่น บวบและถั่วฝักยาว จนเกิดการสร้างรายได้ในพื้นที่จำนวน 3 ไร่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1,000 บาทซึ่งเป็นการดำเนินการเริ่มต้นและในระยะกลางและระยะยาวมีการปลูกไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น พยุง ยางนา มะฮอกกานี โดยเน้นการดำเนินงานตามหลักกสิกรรมธรรมชาติที่ได้รับการบ่มเพาะความรู้จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา โดยนายทองมีได้เล่าถึงความรู้สึกและผลจากการดำเนินการว่า "หลังจากเข้ารับการอบรมแล้วได้นำความรู้ในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินการในชีวิตประจำวันจนเกิดเป็นวิถี มีการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน รวมทั้งในการทำงานครัวเรือนยังมีการทำงานร่วมกันสร้างความอบอุ่นและความสุขเป็นอย่างมาก" นายทองมี กล่าวฯ
  🖌️ในการลงพื้นที่ได้รับการสนับสนุนในการให้ข้อมูลและติดตามการผลิตดอกออกผลของโครงการโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านกรวดซึ่ง นางบุณยวีร์ ทองสิงห์ พัฒนาการอำเภอบ้านกรวดได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนโครงการว่า "ได้มีการบูรณาการร่วมกันกับทุกภาคส่วนทุกหน่วยงานในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อให้เกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืนและมีการสร้างขวัญกำลังใจต่อเนื่องติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมคิด ร่วมทำร่วมแก้ปัญหาจนเกิดเป็นผลสำเร็จ" และ พร้อมกันนี้ในการออกติดตามสนับสนุนงาน นายทองใจ ปุยไธสง ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน ในนามตัวแทนของพัฒนาการจังหวัดบุรีรัมย์ได้ให้กำลังใจครัวเรือนพร้อมทั้งให้ข้อแนะนำในการขับเคลื่อนโครงการในการสร้างเครือข่ายและผลักดันสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อที่จะเป็นต้นแบบในการกระจายแนวคิดที่สำคัญให้ประชาชนในชุมชนได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาใช้ในวิถีชีวิต นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ข่าวโดยกลุ่มงานสารสนเทศฯ
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์

ใส่ความเห็น