พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ตรวจประเมินโครงการ “Smart Safety Zone 4.0” สถานีตำรวจภูธรกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ประธานกรรมการประเมินโครงการ Smart Safety Zone 4.0 พร้อมด้วย พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม รอง ผบช.ภ.1 , พล.ต.ต.ศุภเศรษฐ์ โชคชัย รอง ผบช.ทท. พร้อมคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินการโครงการฯ สภ.กระสัง ซึ่งเป็นโรงพักนำร่อง เฟสที่ 2 ตามโครงการตลอดจนติดตามความคืบหน้าในการใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการป้องกันอาชญากรรม เพื่อให้การป้องกันอาชญากรรมในโครงการดังกล่าวมีให้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยมี พล.ต.ต.รุทธพล เนาวรัตน์ ผบก.ภ.จว.บุรีรัมย์ พร้อมด้วย พ.ต.อ.สุวิจักขณ์ จันทร์เยี่ยม รอง ผบก.ฯ ปรก.ภ.จว.บุรีรัมย์ , พ.ต.อ.วิษณุ อาภรณ์พงษ์ ผกก.สภ.กระสัง และภาคีเครือข่ายป้องกันอาชญากรรม (Big 6) ในพื้นที่ตามโครงการ โดยมีตัวแทนองค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และสื่อมวลชน ร่วมรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินการโครงการฯ ที่สำคัญในโครงการฯ

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ฯ กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีแผนขยายโครงการ Smart Safety Zone 4.0 ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งสิ่งที่ประชาชนจะได้รับ คือความสะดวกสบายในการรับแจ้งเหตุแบบพิเศษ, การใช้กล้อง AI เข้ามาช่วยในการตรวจสอบหาหลักฐาน และยืนยันบุคคลที่อาจเป็นอาจเป็นผู้กระทำผิด ซึ่งกล้องตรวจจับนั้นจะถูกติดตั้งที่บริเวณที่มีคนหมู่มาก เช่น สวนสาธารณะ และพื้นที่เสี่ยง เพื่อลดโอกาสการก่ออาชญากรรม นอกจากนี้ยังได้ให้ความสำคัญกับการติดตั้งไฟส่องสว่าง เพื่อความปลอดภัยของประชาชน สำหรับพื้นที่อำเภอกระสังถือเป็นพื้นที่นำร่องโครงการ Smart Safety Zone 4.0 มาตั้งแต่ช่วงเดือน ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า อัตราการก่ออาชญากรรมลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญที่ทำให้อาชญากรรมลดลง ส่วนหนึ่งมาจาก โครงการ Smart Safety Zone 4.0 แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความร่วมไม้ร่วมมือของทุกภาคส่วน สำหรับการพัฒนาศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีของเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะนี้ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ให้ความสำคัญกับหลักสูตรด้านเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เพื่อศักยภาพเจ้าหน้าที่ให้มีความเชี่ยวชาญสามารถรับมือกับอาชญากรรมด้านเทคโนโลยีที่เกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สภ.กระสัง เป็นหนึ่งในสถานีตำรวจนำร่อง จากสถานีตำรวจนำร่อง 100 สถานี ทั่วประเทศ ภายใต้การดำเนินงานของ สภ.กระสัง นำโดย พล.ต.ต.รุทธพล เนาวรัตน์ ผบก.ภ.จว.บุรีรัมย์ , พ.ต.อ.สุวิจักขณ์ จันทร์เยี่ยม รอง ผบก.ฯ ปรก.ภ.จว.บุรีรัมย์ ร่วมกับ พ.ต.อ.วิษณุ อาภรณ์พงษ์ ผกก.สภ.กระสัง พ.ต.ท.ธัชพล ชิณวงศ์ รอง ผกก.ป.สภ.กระสัง จัดการประชุมกับภาคีเครือข่าย และจัดทำแบบสำรวจประชาชนในเขตเทศบาลอำเภอกระสัง จนได้คัดเลือกพื้นที่ดำเนินโครงการ Smart Safety Zone 4.0 ซึ่งมีความสำคัญในทุกมิติ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระสัง อ.กระสัง จว.บุรีรัมย์ ซึ่งชุมชนในพื้นที่โครงการ Smart Safety Zone 4.0 มีดังนี้

- ชุมชนตลาดใต้ หมู่ที่ 9 2. ที่ว่าการอำเภอกระสัง
- โรงพยาบาลกระสัง 4. โรงเรียนกระสังพิทยาคม
- สถานีตำรวจภูธรกระสัง 6. ที่ดินอำเภอกระสัง
- เทศบาลอุดมธรรม 8. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกระสัง
จำนวนประชากรในเขตพื้นที่ โครงการ SMART SAFETY ZONE 4.0 ประชากร ชาย 485 คน ประชากร หญิง 538 คน รวม 1,023 คน
สถานที่สำคัญในเขต Smart Safety Zone 4.0 สภ.กระสัง ดังนี้
1.ศูนย์การค้า 5 แห่ง ตลาดสดเทศบาลตำบลกระสัง , ร้านสะดวกซื้อ 7-11, ซีเจ ซุปเปอร์มาร์เก็ต สาขากระสัง,โลตัส เอ็กเพลส,ร้านสะดวกซื้อ ทวีกิจ - สถาบันการเงิน 3 แห่ง ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารออมสิน , ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ห้างทอง 4 แห่ง ห้างทองศิริชัย, ห้างทองสุวรรณี, ห้างทองเยาวราช, ห้างทองนำชัย
4.อื่น ๆ เงินติดล้อ
สภ.กระสัง ได้ดำเนินการตามโครงการ Smart Safety Zone 4.0 โดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการป้องกันเหตุอาชญากรรมในพื้นที่โครงการ ดังนี้ - จัดตั้งภาคีเครือข่ายป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ หรือ “Big 6” การจัดตั้งภาคีเครือข่ายป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ หรือ “Big 6” ซึ่งประกอบด้วย 1. ตำรวจ 2. ภาคประชาชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4. ภาคธุรกิจ 5. หน่วยงานภาครัฐ 6. สื่อมวลชน มีการพูดคุยกับภาคีเครือข่าย และแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน เพื่อสร้างแนวร่วมในการป้องกันอาชญากรรม สร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะภาคประชาชน สร้างความเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการดังกล่าวสามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- จัดทำระบบฐานข้อมูลและจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการสั่งการควบคุม ( CCOC ) ภายในสถานี
มีการสำรวจกล้องวงจรปิดในพื้นที่ ปรับมุมกล้อง และบูรณาการการใช้งานกล้องร่วมกัน ทั้งของสถานีตำรวจ ภาครัฐ และเอกชน พร้อมติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มเติมทั้งภายในและภายนอกพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น 633 ตัว เป็นของสถานีตำรวจภูธรกระสังร่วมกับ กต.ตร. และเอกชนสนับสนุน 110 ตัว เป็นของหน่วยงานราชการ เอกชน และส่วนบุคคล 523 ตัว และเชื่อมต่อเข้ามายังศูนย์ปฏิบัติการสั่งการควบคุม ( CCOC ) จำนวน 272 ตัว - ติดตั้งระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน ( SOS ) เพื่อประชาชนจะได้สามารถแจ้งเหตุด่วนได้ทันที
- สายตรวจและระบบปฏิบัติการสายตรวจ มีการจัดสายตรวจพื้นที่โดยการเดินเท้า สายตรวจ
จักรยายนต์ รถยนต์สายตรวจ และอากาศยานไร้คนขัน ( โดรน ) - ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ มีการใช้จัดทำแอปพลิเคชัน LINE Official เพื่อความรวดเร็วในการสื่อสาร สร้างลิงค์ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน Police i lert u
- การตรวจเยี่ยมชุมชน กำหนดจุดตรวจเยี่ยม ในการตรวจเยี่ยมแต่ละครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะบันทึกการลงชื่อเข้าเวร การตรวจตู้แดงผ่านการสแกน QR code ในระบบ Police 4.0
- การนำนวัตกรรมมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรม เช่น การติดตั้งกล้อง AI ตรวจจับใบหน้า และระบบ License PlateI ตรวจจับทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น
- ควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม ได้ร่วมกับหน่วยงานในท้องที่ปรับภูมิทัศน์พื้นที่เสี่ยงให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย เช่น ตัดต้นไม้ แต่งกิ่งไม้ในพื้นที่รกล้าง ทาสีทางม้าลาย ทำความสะอาดพื้นที่ ติดไฟส่องสว่าง ขุดลอกคลองระบายน้ำ เป็นต้น
- การประชาสัมพันธ์โครงการ Smart Safety Zone 4.0 มีการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ต่อสาธารณชน ในรูปแบบออฟไลน์ เช่น หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ ป้ายโฆษณาสาธารณะ ป้ายไวนิล และสติกเกอร์สัญลักษณ์โครงการ ในรูปแบบออนไลน์ ประสัมพันธ์เนื้อ รูปภาพ และคลิปวิดีโอผ่านช่องทางแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ค ติ๊กต๊อก อินสตาแกรม และยูทูปแชนแนล
- การทำ Pre-Test/Post-test มีการสำรวจอัตราความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม และอัตราความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่
จากการสำรวจความหวาดกลัวและความเชื่อมั่น หรือ People pole Smart Safety Zone 4.0 สภ.กระสังประชาชนในพื้นที่โครงการฯ พื้นที่หมู่ 9 ตำบลกระสัง มีจำนวนประชากรแบ่งเป็นชาย 485 คน หญิง 538 คน รวม 1,023 คน ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2564 ถึงเดือน กรกฎาคม 2565 ดังนี้ - ระดับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนมีสถิติที่ลดลงเรื่อย ๆ ในแต่ละเดือน ผ่านตัวชี้วัด ที่ ตร. กำหนดน้อยกว่าร้อยละ 40% ลงมา
2.ผลการดำเนินโครงการ ได้ยกระดับการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามกรอบแรวคิดในเรื่อง “ระบบราชการ 4.0” และการเป็น Smart city ดำเนินการป้องกันอาชญากรรมและความกลัวภัยอาชญากรรม จากการสำรวจของประชาชนพบว่าอัตราความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนในพื้นที่ต่ำสุดคิดเป็นร้อยละ 19 ซึ่งลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากการเปรียบเทียบเมื่อเริ่มต้นโครงการ ในขณะเดียวกันอัตราความเชื่อมั่นของประชาชนเพิ่มขึ้นสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 96 จากผลการดำเนินโครงการมีผลงานจากการเชื่อมโยงและใช้การควบคุมสั่งการโดยตรง