ปัญหาการขาดแคลนน้ำลุ่มน้ำมูลตอนบน จังหวัดนครราชสีมา – บุรีรัมย์

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมการบรรเทาอุทกภัย และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำลุ่มน้ำมูลตอนบน จังหวัดนครราชสีมา – บุรีรัมย์

เมื่อวันนี้ (16 มี.ค. 61) เวลา 09.30 น. นายประภาส รักษาทรัพย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์เปิดการประชุมโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมการบรรเทาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำลุ่มน้ำมูลตอนบนจังหวัดนครราชสีมา – บุรีรัมย์ ที่โรงแรม เดอ ศิตา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำหมู่บ้านชุมชน สื่อมวลชน และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นกว่า 200 คน

ทั้งนี้สืบเนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบน คือ บริเวณจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์นั้น ประสบปัญหาทั้งน้ำท่วม และปัญหาการขาดแคลนน้ำตลอดมาส่งผลกระทบต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของประชาชนอย่างมาก ปัญหาของพื้นที่ก็ คือ ช่วงฝนตกหนักน้ำจะเอ่อล้นท่วมขังตามบ้านเรือน และพื้นที่เกษตรทำให้ผลผลิตต่างๆ ได้รับความเสียหาย เก็บเกี่ยวไม่ได้ผล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ตัวเมืองซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อเกิดน้ำท่วมขังก็จะทำให้การประกอบธุรกิจหรือกิจการค้าขายต่างๆ หยุดชะงัดและเกิดความเสียหายอย่างมาก ในช่วงหน้าแล้งนั้นก็ขาดแคลนน้ำ ทั้งน้ำเพื่อการเกษตร และน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ก็ได้ให้ความช่วยเหลือจัดหาน้ำมาบรรเทาความเดือดร้อนเป็นครั้งคราวไป

กรมชลประทานจึงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสมและส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมการบรรเทาอุทกภัย และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำลุ่มน้ำมูลบน นครราชสีมา – บุรีรัมย์ เพื่อศึกษาจัดทำรายงานแผนหลักการพัฒนาลุ่มน้ำมูลบน การแก้ไขบรรเทาปัญหาอุกภัยแล้งของพื้นที่ศึกษา สำหรับเป็นแนวทางการบริหารจัดการน้ำทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง

แหล่งที่มา: ปชส.บุรีรัมย์

ใส่ความเห็น