พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ตรวจประเมินโครงการ “Smart Safety Zone 4.0” สถานีตำรวจภูธรกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์


เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ประธานกรรมการประเมินโครงการ Smart Safety Zone 4.0 พร้อมด้วย พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม รอง ผบช.ภ.1 , พล.ต.ต.ศุภเศรษฐ์ โชคชัย รอง ผบช.ทท. พร้อมคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินการโครงการฯ สภ.กระสัง ซึ่งเป็นโรงพักนำร่อง เฟสที่ 2 ตามโครงการตลอดจนติดตามความคืบหน้าในการใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการป้องกันอาชญากรรม เพื่อให้การป้องกันอาชญากรรมในโครงการดังกล่าวมีให้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยมี พล.ต.ต.รุทธพล เนาวรัตน์ ผบก.ภ.จว.บุรีรัมย์ พร้อมด้วย พ.ต.อ.สุวิจักขณ์ จันทร์เยี่ยม รอง ผบก.ฯ ปรก.ภ.จว.บุรีรัมย์ , พ.ต.อ.วิษณุ อาภรณ์พงษ์ ผกก.สภ.กระสัง และภาคีเครือข่ายป้องกันอาชญากรรม (Big 6) ในพื้นที่ตามโครงการ โดยมีตัวแทนองค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และสื่อมวลชน ร่วมรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินการโครงการฯ ที่สำคัญในโครงการฯ

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ฯ กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีแผนขยายโครงการ Smart Safety Zone 4.0 ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งสิ่งที่ประชาชนจะได้รับ คือความสะดวกสบายในการรับแจ้งเหตุแบบพิเศษ, การใช้กล้อง AI เข้ามาช่วยในการตรวจสอบหาหลักฐาน และยืนยันบุคคลที่อาจเป็นอาจเป็นผู้กระทำผิด ซึ่งกล้องตรวจจับนั้นจะถูกติดตั้งที่บริเวณที่มีคนหมู่มาก เช่น สวนสาธารณะ และพื้นที่เสี่ยง เพื่อลดโอกาสการก่ออาชญากรรม นอกจากนี้ยังได้ให้ความสำคัญกับการติดตั้งไฟส่องสว่าง เพื่อความปลอดภัยของประชาชน สำหรับพื้นที่อำเภอกระสังถือเป็นพื้นที่นำร่องโครงการ Smart Safety Zone 4.0 มาตั้งแต่ช่วงเดือน ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า อัตราการก่ออาชญากรรมลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญที่ทำให้อาชญากรรมลดลง ส่วนหนึ่งมาจาก โครงการ Smart Safety Zone 4.0 แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความร่วมไม้ร่วมมือของทุกภาคส่วน สำหรับการพัฒนาศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีของเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะนี้ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ให้ความสำคัญกับหลักสูตรด้านเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เพื่อศักยภาพเจ้าหน้าที่ให้มีความเชี่ยวชาญสามารถรับมือกับอาชญากรรมด้านเทคโนโลยีที่เกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สภ.กระสัง เป็นหนึ่งในสถานีตำรวจนำร่อง จากสถานีตำรวจนำร่อง 100 สถานี ทั่วประเทศ ภายใต้การดำเนินงานของ สภ.กระสัง นำโดย พล.ต.ต.รุทธพล เนาวรัตน์ ผบก.ภ.จว.บุรีรัมย์ , พ.ต.อ.สุวิจักขณ์ จันทร์เยี่ยม รอง ผบก.ฯ ปรก.ภ.จว.บุรีรัมย์ ร่วมกับ พ.ต.อ.วิษณุ อาภรณ์พงษ์ ผกก.สภ.กระสัง พ.ต.ท.ธัชพล ชิณวงศ์ รอง ผกก.ป.สภ.กระสัง จัดการประชุมกับภาคีเครือข่าย และจัดทำแบบสำรวจประชาชนในเขตเทศบาลอำเภอกระสัง จนได้คัดเลือกพื้นที่ดำเนินโครงการ Smart Safety Zone 4.0 ซึ่งมีความสำคัญในทุกมิติ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระสัง อ.กระสัง จว.บุรีรัมย์ ซึ่งชุมชนในพื้นที่โครงการ Smart Safety Zone 4.0 มีดังนี้

  1. ชุมชนตลาดใต้ หมู่ที่ 9 2. ที่ว่าการอำเภอกระสัง
  2. โรงพยาบาลกระสัง 4. โรงเรียนกระสังพิทยาคม
  3. สถานีตำรวจภูธรกระสัง 6. ที่ดินอำเภอกระสัง
  4. เทศบาลอุดมธรรม 8. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกระสัง
    จำนวนประชากรในเขตพื้นที่ โครงการ SMART SAFETY ZONE 4.0 ประชากร ชาย 485 คน ประชากร หญิง 538 คน รวม 1,023 คน
    สถานที่สำคัญในเขต Smart Safety Zone 4.0 สภ.กระสัง ดังนี้
    1.ศูนย์การค้า 5 แห่ง ตลาดสดเทศบาลตำบลกระสัง , ร้านสะดวกซื้อ 7-11, ซีเจ ซุปเปอร์มาร์เก็ต สาขากระสัง,โลตัส เอ็กเพลส,ร้านสะดวกซื้อ ทวีกิจ
  5. สถาบันการเงิน 3 แห่ง ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารออมสิน , ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  6. ห้างทอง 4 แห่ง ห้างทองศิริชัย, ห้างทองสุวรรณี, ห้างทองเยาวราช, ห้างทองนำชัย
    4.อื่น ๆ เงินติดล้อ
    สภ.กระสัง ได้ดำเนินการตามโครงการ Smart Safety Zone 4.0 โดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการป้องกันเหตุอาชญากรรมในพื้นที่โครงการ ดังนี้
  7. จัดตั้งภาคีเครือข่ายป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ หรือ “Big 6” การจัดตั้งภาคีเครือข่ายป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ หรือ “Big 6” ซึ่งประกอบด้วย 1. ตำรวจ 2. ภาคประชาชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4. ภาคธุรกิจ 5. หน่วยงานภาครัฐ 6. สื่อมวลชน มีการพูดคุยกับภาคีเครือข่าย และแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน เพื่อสร้างแนวร่วมในการป้องกันอาชญากรรม สร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะภาคประชาชน สร้างความเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการดังกล่าวสามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  8. จัดทำระบบฐานข้อมูลและจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการสั่งการควบคุม ( CCOC ) ภายในสถานี
    มีการสำรวจกล้องวงจรปิดในพื้นที่ ปรับมุมกล้อง และบูรณาการการใช้งานกล้องร่วมกัน ทั้งของสถานีตำรวจ ภาครัฐ และเอกชน พร้อมติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มเติมทั้งภายในและภายนอกพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น 633 ตัว เป็นของสถานีตำรวจภูธรกระสังร่วมกับ กต.ตร. และเอกชนสนับสนุน 110 ตัว เป็นของหน่วยงานราชการ เอกชน และส่วนบุคคล 523 ตัว และเชื่อมต่อเข้ามายังศูนย์ปฏิบัติการสั่งการควบคุม ( CCOC ) จำนวน 272 ตัว
  9. ติดตั้งระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน ( SOS ) เพื่อประชาชนจะได้สามารถแจ้งเหตุด่วนได้ทันที
  10. สายตรวจและระบบปฏิบัติการสายตรวจ มีการจัดสายตรวจพื้นที่โดยการเดินเท้า สายตรวจ
    จักรยายนต์ รถยนต์สายตรวจ และอากาศยานไร้คนขัน ( โดรน )
  11. ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ มีการใช้จัดทำแอปพลิเคชัน LINE Official เพื่อความรวดเร็วในการสื่อสาร สร้างลิงค์ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน Police i lert u
  12. การตรวจเยี่ยมชุมชน กำหนดจุดตรวจเยี่ยม ในการตรวจเยี่ยมแต่ละครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะบันทึกการลงชื่อเข้าเวร การตรวจตู้แดงผ่านการสแกน QR code ในระบบ Police 4.0
  13. การนำนวัตกรรมมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรม เช่น การติดตั้งกล้อง AI ตรวจจับใบหน้า และระบบ License PlateI ตรวจจับทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น
  14. ควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม ได้ร่วมกับหน่วยงานในท้องที่ปรับภูมิทัศน์พื้นที่เสี่ยงให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย เช่น ตัดต้นไม้ แต่งกิ่งไม้ในพื้นที่รกล้าง ทาสีทางม้าลาย ทำความสะอาดพื้นที่ ติดไฟส่องสว่าง ขุดลอกคลองระบายน้ำ เป็นต้น
  15. การประชาสัมพันธ์โครงการ Smart Safety Zone 4.0 มีการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ต่อสาธารณชน ในรูปแบบออฟไลน์ เช่น หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ ป้ายโฆษณาสาธารณะ ป้ายไวนิล และสติกเกอร์สัญลักษณ์โครงการ ในรูปแบบออนไลน์ ประสัมพันธ์เนื้อ รูปภาพ และคลิปวิดีโอผ่านช่องทางแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ค ติ๊กต๊อก อินสตาแกรม และยูทูปแชนแนล
  16. การทำ Pre-Test/Post-test มีการสำรวจอัตราความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม และอัตราความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่
    จากการสำรวจความหวาดกลัวและความเชื่อมั่น หรือ People pole Smart Safety Zone 4.0 สภ.กระสังประชาชนในพื้นที่โครงการฯ พื้นที่หมู่ 9 ตำบลกระสัง มีจำนวนประชากรแบ่งเป็นชาย 485 คน หญิง 538 คน รวม 1,023 คน ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2564 ถึงเดือน กรกฎาคม 2565 ดังนี้
  17. ระดับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนมีสถิติที่ลดลงเรื่อย ๆ ในแต่ละเดือน ผ่านตัวชี้วัด ที่ ตร. กำหนดน้อยกว่าร้อยละ 40% ลงมา
    2.ผลการดำเนินโครงการ ได้ยกระดับการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามกรอบแรวคิดในเรื่อง “ระบบราชการ 4.0” และการเป็น Smart city ดำเนินการป้องกันอาชญากรรมและความกลัวภัยอาชญากรรม จากการสำรวจของประชาชนพบว่าอัตราความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนในพื้นที่ต่ำสุดคิดเป็นร้อยละ 19 ซึ่งลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากการเปรียบเทียบเมื่อเริ่มต้นโครงการ ในขณะเดียวกันอัตราความเชื่อมั่นของประชาชนเพิ่มขึ้นสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 96 จากผลการดำเนินโครงการมีผลงานจากการเชื่อมโยงและใช้การควบคุมสั่งการโดยตรง

ใส่ความเห็น