จังหวัดบุรีรัมย์ เตรียมความพร้อม ตอบโต้สถานการณ์การระบาดเชื้อไวรัสโควิด19

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ เตรียมความพร้อม ตอบโต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พร้อมปรับมาตรการ ข้อปฏิบัติ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 10.00 น. นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ ครั้งที่ 53/2564 ณ ห้องประชุม 4 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเตรียมความพร้อม ตอบโต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทบทวน ประเมินและปรับมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งนี้ จากสถานการร์การติดเชื้อไวรัสโคโรนา ภายในประเทศมีแนวโน้มมากขึ้น และยังต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ข้อมูล ณ วันที่ 3 ธ.ค. 64 ประเทศไทย มีผู้ป่วยสะสม 2,101,778 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยสะสม 2,009,574 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) และอยู่ในลำดับที่ 24 ของโลก สำหรับในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ยังมีความจำเป็นที่จะต้องคงมาตรการเพื่อใช้ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไม่ให้กลับเข้ามาแพร่กระจายในพื้นที่อีก ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้นำสถานการณ์การแพร่ระบาดและความรุนแรงของสายพันธุ์ Omicron B.1.1.529 แจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบ โดยจากข้อมูลพบว่า อาการของการติดเชื้อ เบื้องต้นไม่พบความแตกต่างจากสายพันธ์เดิม บางรายงานระบุว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไม่สูญเสียการรับกลิ่น/รส อาการไม่รุนแรง และได้นำมาตรการของ ศบค. ในการปฏิบัติตัวในการเดินทางเข้าไทย สำหรับผู้เดินทาง/พำนักจากประเทศในทวีปแอฟริกา เข้าสู่ที่ประชุม คือ ไม่อนุญาตให้เข้าไทยในรูปแบบ Test and Go ไม่ให้ลงทะเบียนเข้าประเทศ ตั้งแต่ 27 พ.ย. 64

ประเทศที่พบสายพันธุ์ B 1.1.529 และเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด 8 ประเทศ คือ บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ ซิมบับเวสำหรับผู้เดินทางถึงไทย ตั้งแต่ 15 พ.ย. 64- รูปแบบ Sandbox : ให้คุมไว้สังเกตเป็นเวลา 14 วัน และตรวจหาเชื้อ- รูปแบบ กักตัว : ต้องกักตัวในสถานกักกันจนครบ 14 วัน และตรวจหาเชื้อ: กรณีออกจากสถานกักกันแล้ว แต่ยังไม่ครบ 14 วัน ให้คุมไว้สังเกตจนครบ 14 วัน และตรวจหาเชื้อสำหรับผู้เดินทางถึงไทย ตั้งแต่ 28 พ.ย. 64รูปแบบ Sandbox และ กักตัว : ต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วัน และตรวจหาเชื้อ 3 ครั้ง** ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 64 : ไม่อนุญาตให้เข้าไทย (ยกเว้นผู้มีสัญชาติไทย)ประเทศอื่น ๆ ในทวีปแอฟริกา* ผู้ที่เดินทางถึงไทย ตั้งแต่ 15 พ.ย. – 5 ธ.ค. 64- รูปแบบ Sandbox : ให้คุมไว้สังเกตจนครบ 14 วัน หรือตามจำนวนวันที่เข้าพัก กรณีมีอาการให้ตรวจหาเชื้อ- รูปแบบ กักตัว กักตัวครบตามกำหนดแล้วยังต้องติดตามคุมไว้สังเกตจนครบ 14 วัน กรณีมีอาการให้ตรวจหาเชื้อ*ผู้ที่เดินทางถึงไทย ตั้งแต่ 6 ธ.ค. 64 – รูปแบบ Sandbox และกักตัว : ให้กักตัวเป็นเวลา 14 วัน และตรวจหาเชื้อ 3 ครั้ง นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณา ยุบเลิกโรงพยาบาลสนามบางแห่ง บางพื้นที่ เนื่องจาก มีแนวโน้มผู้ป่วยที่รอส่งตัวเข้าสู่กระบวนการรักษาลดลง ประกอบกับจำนวนเตียงที่รอรับผู้ป่วยที่เข้ามาทำการรักษาภายในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ โรงพยาบาลประจำอำเภอของแต่ละท้องที่ มีจำนวนที่เพียงพอ โดยให้ ยุบเลิก โรงพยาบาลสนามเกษรบูทีค โฮเทล, โรงพยาบาลสนามโกดังบริษัทโรงสีข้าวนางรองจำกัด, โรงพยาบาลสนามคลินิกหมอครอบครัวหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลกระสัง, โรงพยาบาลสนามวัดป่าโคกตะเคียน , รพ.สนามโรงเรียนเทศบาลตำบลโนนดินแดง ,โรงพยาบาลสนามบ้านกรวดวิทยาคาร และ ประกาศยุบเลิกศูนย์พักคอยในพื้นที่จังหวัดอีกจำนวน 11 แห่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาจังหวัดบุรีรัมย์ได้เปิดให้บริการฉีดวัคซีนให้กับประชากรกลุ่มเป้าหมายที่พำนักในพื้นที่จังหวัด รวมถึงแรงงานต่างด้าว พร้อมเร่งฉีดให้กับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป และประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยข้อมูลในภาพรวมของจังหวัด มีผู้เข้ารับวัคซีนกว่า 80 เปอร์เซน และ ในพื้นที่ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีผู้เข้ารับวัคซีนกว่า 90 เปอร์เซน อย่างไรก็ตาม ยังพบว่ามีกลุ่มเป้าหมายยังไม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีน จึงขอความร่วมมือไปยังทีมอำเภอ พื้นที่ ได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเข้ารับวัคซีนโดยเร็ว ทั้งนี้ ในทางการแพทย์ ผู้เชียวชาญเชื่อว่า “วัคซีนยังสามารถป้องกันอาการรุนแรงจากการติดเชื้อได้”

ขอบคุณ เพจ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์