พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เชิญสิ่งของและเงินพระราชทาน ไปมอบแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตจากฟ้าผ่าในพื้นที่อำเภอสตึก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เชิญสิ่งของและเงินพระราชทาน ไปมอบแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตจากฟ้าผ่าในพื้นที่อำเภอสตึก

เมื่อวัน( 27 ต.ค.64) เวลา 14.00 น. ที่ศาลาประชาคมอำเภอสตึก จ.บุรีรัมย์ นายอังกูร ศีลาเทวากูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เชิญสิ่งของพระราชทาน และเงินช่วยเหลือเยียวยาพระราชทาน จำนวน 89,100 บาท ไปมอบเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ แก่ครอบครัวของนายสมพร พรมนัส อายุ 57 ปี และนางลิม พรมนัส อายุ 60 ปี (สามี-ภรรยา) อยู่บ้านเลขที่ 38 บ้านแสงเจริญ หมู่ที่ 15 ต.ชุมแสง อ.สตึก ซึ่งทั้ง 2 คนได้ประสบสาธารณภัย “ฟ้าผ่า” ขณะนำวัวออกไปเลี้ยง บริเวณกระท่อมนาทางทิศเหนือของหมู่บ้านห่างไปประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2564 เวลาประมาณ 13.30 น. ซึ่งขณะนั้นได้มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง นายสมพร-นางลิม พรมนัส และนางสาวรถ แชะรัมย์ เพื่อนบ้าน ไปหลบฝนที่กระท่อมนา ได้เกิดฟ้าผ่า ทำให้นายสมพร-นางลิม พรมนัส เสียชีวิตรวม 2 คน ส่วนนางสาวรถ แชะรัมย์ เพื่อนบ้านได้รับบาดเจ็บสาหัส โดยมีนายชาญณรงค์ พรมนัส บุตรชายของผู้เสียชีวิต เป็นผู้แทนทายาทฯ รับมอบสิ่งของพระราชทาน เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีเหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์ หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมให้กำลังใจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยพสกนิกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากการประสบสาธารณภัย กรณีฟ้าผ่าในครั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ นำเงินและสิ่งของพระราชทาน ไปมอบให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฟ้าผ่าเสียชีวิต 1 ครอบครัว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและมีขวัญกำลังใจในการต่อสู้ฝ่าฟันให้พ้นวิฤตภัยครั้งนี้ไปได้ด้วยดีมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรเกล้าโปรดกระหม่อมให้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิขึ้น เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2506 จาเหตุการณ์วาตภัย แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.2505 เพื่อช่วยเหลือราฎรที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ ในเบื้องต้น ส่วนการช่วยเหลือแบบยั่งยืนนั้น เป็นหน้าที่ของส่วนราชการตามกฎหมาย เป็นเวลานานกว่า 49 ปี มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ได้ยึดถือพระราชดำริมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณ เพจ :ส.ปชส.บุรีรัมย์

ใส่ความเห็น