ส.ปชส.จังหวัดบุรีรัมย์ จัดกิจกรรม “ผู้ว่าฯ บุรีรัมย์พบสื่อมวลชน” สร้างการรับรู้กระจายข่าวสารการดำเนินงานโครงการต่างๆที่ถูกต้องสู่ประชาชน

เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 63  ส.ปชส.จังหวัดบุรีรัมย์ จัดกิจกรรม “ผู้ว่าฯ บุรีรัมย์พบสื่อมวลชน” สร้างการรับรู้กระจายข่าวสารการดำเนินงานโครงการต่างๆที่ถูกต้องสู่ประชาชน รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม “สัมมนา ผู้ว่าฯ บุรีรัมย์พบสื่อมวลชน” ตามโครงการประชาสัมพันธ์ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และนโยบายจังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี 2563  พร้อมบรรยายพิเศษเรื่อง “แนวทาง Buriram Healthy Model”  ที่ โรงแรมเดอะศิตา อำเภอเมืองฯ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจัดโดย สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์

      นางมยุรี  สงวนนาม ประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ ได้กล่าวถึง การจัดงานสัมมนา ผู้ว่าพบสื่อมวลชน ว่า เป็นโครงการประชาสัมพันธ์ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และ นโยบายจังหวัดบุรีรัมย์ จัดขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้ เข้าใจแก่สื่อมวลชนทุกแขนง ให้สามารถนำข้อมูลข่าวสาร ตลอดทั้งการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ        ของส่วนราชการ ภาคเอกชน ตามแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัด ไปสู่พี่น้องประชาชน ก่อให้เกิด       ความร่วมมือในการดำเนินงานทุกมิติ โดยมีสื่อวิทยุกระแสหลัก วิทยุชุมชน สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์     โซเชียล อาสาสมัครประชาสัมพันธ์ประจำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของส่วนราชการ  เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 40 คน

         กิจกรรมประกอบด้วยการจัดเวทีสัมมนา เรื่อง “กิน อยู่ เที่ยว แบบ New Normal” และการจัดการแข่งขันและชมกีฬาแบบ New Normal โดยมี บุคลากรทางการแพทย์ และผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้ให้ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับสถานการณ์ การดำเนินงาน และแนวทาง

ในการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคระบาด เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรคไข้เลือดออก โรคปวดข้อยุงลายหรือ ชิกุนคุนยา และการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านกีฬา เที่ยวและชมกีฬาอย่างไรให้ปลอดภัยจาก โควิด-19 เพื่อสื่อสารข้อมูลให้แก่สื่อมวลชนผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน และนำไปขยายผล ผ่านช่องทางสื่อ เช่น วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ สื่อโซเซียล และเสียงตามสาย เพื่อให้ประชาชนชาวจังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับรู้ เข้าใจอย่างทั่วถึง และนำมาซึ่งความร่วมมือในการที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหา และควบคุมการระบาดของโรค 

           รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา และขณะนี้การระบาดของโรคอยู่ในระยะที่ควบคุมได้ รัฐบาลจึงได้คลายล็อก เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งการเปิดเรียน การค้าขาย รวมถึงการจัดการแข่งขันกีฬาบางชนิดกีฬา และออกมาตรการ “เที่ยวปันสุข”เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และกระตุ้นการท่องเที่ยวด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์แม้ไม่มีรายงานการพบผู้ป่วยรายใหม่เป็นเวลา 148 วันแล้ว แต่เพื่อความไม่ประมาท เมื่อประชาชนจะต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือต้องอยู่ในพื้นที่ ที่มีคนจำนวนมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอร์ ปฏิบัติตนตามวิถีชีวิตแนวใหม่ เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บุรีรัมย์เร่งรณรงค์ขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย หลังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

28 ส.ค.63 – สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2563 – 27 ส.ค.2563 ที่ผ่านมา พบมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเข้ารับการรักษาตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งจังหวัดแล้ว จำนวน 1,825 ราย ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 10 – 14 ปี รองลงมาอายุ 5-9 ปี และอายุ 15-24 ปี ส่วนอำเภอที่มียอดผู้ป่วยสะสมมากที่สุด คือ อ.พุทไธสง 229 ราย, ประโคนชัย 193 ราย, ลำปลายมาศ 154 ราย,         เมืองบุรีรัมย์ 140 ราย และ อ.นางรอง 140 ราย ตามลำดับ

ทั้งนี้ คาดว่าจะมีแนวโน้มระบาดสูงขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงหน้าฝนทำให้มีน้ำขังตามภาชนะต่างๆ     ที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคแพร่ระบาดสู่คนจากสถานการณ์ดังกล่าว ทางสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ได้กำชับให้สาธารณสุขอำเภอ ทั้ง

23 อำเภอ ร่วมกับ อสม. ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ออกรณรงค์ขอความร่วมมือประชาชนได้ช่วยกันกำจัดลูกน้ำ ยุงลายในครัวเรือนของตัวเอง โดยเน้นหลัก 3 เก็บ คือ เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งเพื่อไม่ให้ยุงลายเกาะพัก, เก็บขยะ เศษภาชนะที่อาจจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ และเก็บน้ำ ให้มิดชิด ปิดฝาภาชนะ ส่วน

ฝาภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ก็ให้ปล่อยน้ำทิ้งหรือเปลี่ยนน้ำเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของลูกน้ำยุงลาย ที่จะเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปแพร่ระบาดสู่คน

  ในส่วนมาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออก สำนักงานสาธารณสุขได้ได้ใช้มาตรการ 3 – 3 – 1    รู้เร็ว แจ้งเร็ว ควบคุมเร็ว คือ รพ. แจ้งรายงานโรคเร็วไปยัง รพ.สต. ภายใน 3 ชั่วโมง เมื่อมีผู้ป่วยมาที่ โรงพยาบาล  รพ.สต. แจ้งเจ้าบ้าน ประชาชน อสม. ร่วมควบคุมโรคเร็ว ภายใน 3 ชั่วโมง สุ่มลูกน้ำยุงลาย กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ ฉีดสเปรย์ กำจัดยุงตัวแก่ในบ้านผู้ป่วยหรือบ้านเรือนรัศมี 100 เมตร และ          ทุกครัวเรือน ร่วมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ (5ป 1ข) ทั้งชุมชน โรงเรียน วัด ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงาน ฉีดพ่นหมอกควันเคมีกำจัดยุงตัวแก่ในบ้านผู้ป่วยและโดยรอบบ้านผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร หรือทั้งชุมชน รวดเร็วภายใน 1 วัน

 หากบุตรหลานหรือสมาชิกในครอบครัวคนใด มีอาการป่วยไข้สูง ไอ มีน้ำมูก หน้าแดง และหนาวสั่น ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทันที เพราะหากล่าช้า หรือไม่ได้รับการรักษา  อย่างทันท่วงที อาจเกิดอาการช็อกและเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

ใส่ความเห็น