มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดตัวโครงการ “รักษ์ถิ่น รักษ์ภูมิปัญญา รักษ์ทายาท”

วันนี้ (6 ก.คม.62) เวลา 09.00 น. ที่ห้องพุทธรักษา อาคาร 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เปิดตัวโครงการ “รักษ์ถิ่น รักษ์ภูมิปัญญา รักษ์ทายาท” โดยมีกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าทอและเครื่องแต่งกาย สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 36 กลุ่ม มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 108

ทั้งนี้เพื่อสร้างทายาทผู้ประกอบการ OTOP ให้มีทักษะด้านการผลิต ผลิตภัณฑ์ผ้าทอด้วยการสืบสานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษสนับสนุนให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพให้ทายาทผู้ประกอบการ OTOP เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศให้มีระดับสูงขึ้น

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดำเนินโครงการยกระดับ OTOP ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของ ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 เพื่อพัฒนาอาชีพให้กับ กลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้ และผลักดันสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำไปพัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้า และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร โดยมีผู้ประกอบการ OTOP ได้รับการยกระดับผลิตภัณฑ์ และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ จำนวน 130 กลุ่ม

สำหรับปีงบประมาณ 2562 ได้ดำเนินโครงการพัฒนาสินค้า OTOP เพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดาวเด่น ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร มีผู้ประกอบการ OTOP ที่ได้รับการยกระดับผลิตภัณฑ์และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการจำนวน 113 กลุ่ม ให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานและผลักดันให้เป็นผลิตภัณฑ์ดาวเด่น โดยใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีผู้ประกอบการ OTOP ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดาวเด่น จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์

ด้าน รศ. มาลิณี จุโฑปะมา รักษาราชการ แทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กล่าวว่าโครงการนี้เป็นการเพิ่มทักษะให้ผู้ประกอบการ ให้มีทักษะด้านการผลิต ผลิตภัณฑ์ทอผ้า ด้วยการสืบสานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ และสนับสนุนพัฒนาศักยภาพทายาทผู้ประกอบการ รวมทั้งสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้ทายาทผู้ประกอบการ OTOP อีกทั้งเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศต่อไป / ขอบคุณ  ปชส . บุรีรัมย์

ใส่ความเห็น