ไฮไลท์การเปิดชุมชนท่องเที่ยวบ้านโนนรัง ชมการแสดง”รำแม่นางด้ง” เป็นพิธีเซ่นไหว้วิญญาณเสี่ยงทาย!

    

 เมื่อวันที่16 ธค 61 เวลา 17.00น ณ.ชุมชนบ้านโนนรัง หมู่ที่ 15 ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  มีพิธีเปิดชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยประธานในพิธี นายเกรียงไกร กิริวรรณา นายอำเภอเมือบุรีรัมย์  นายกรองศักดิ์ โอยสวัสดิ์ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน มีนางรัชนี สาระวิถี  พัฒนาการอำเภอบุรีรัมย์ กล่าวรายงาน พร้อม / หัวหน้าส่วนราชการ /ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น /กำนัน/ ผู้ใหญ่บ้าน / กลุ่มองค์กรภาคประชาชน และผู้มีเกียรติ นักท่องเที่ยว สื่อมวลชน เปิดชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี  ชุมชนบ้านโนนรัง

นางรัชนี สาระวิถี  พัฒนาการอำเภอบุรีรัมย์

   โดย การดำเนินงานโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งดำเนินการภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชนเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ที่มีเป้าหมายสำคัญ เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งเน้นสร้างรายได้และความเจริญ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชุมชนเชิงท่องเที่ยวได้ สร้างความน่าสนใจให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมและท่องเที่ยวในแอ่งเล็ก (หมู่บ้าน /ชุมชน) สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน ในการขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดอาชีพ  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ได้มีมาตรฐานและมีคุณภาพ  เพื่อสร้างรายได้ให้กระจายอยู่กับประชาชนในหมู่บ้าน /ชุมชน บนฟื้นฐานเสน่ห์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์มาดัดแปลงให้เกิดมูลค่าเพิ่ม  ชุมชนมีความเข้มแข็งและประชาชนมีความสุข จึงได้กำหนดฟื้นที่ดำเนินงานทั้งหมด 3,273 หมู่บ้าน ทั่วประเทศ (แอ่งเล็ก) จังหวัดบุรีรัมย์  98 หมู่บ้านและอำเภอเมืองบุรีรัมย์ 7 หมู่บ้าน 1.)บ้านตลาดชัย  ม.8ต.สองห้อง 2.)บ้านใหม่ ม.2 ต.สวายจีก 3). บ้านสวายสอ ม.7 ต.สะแกโพรง 4.)บ้านโนนรัง ต.กระสัง 5.)บ้านสวัสดี ม.3 ต.กลันทา 6.)บ้านหนองเครือ ม.10 ต.ถลุงเหล็ก 7.)บ้านโคกใหญ่ (เขากระโดง) ม.13 ต.เสม็ด

การทอผ้าฟื้นบ้าน ผ้าไหม ผ้าฝ้าย

     ด้วยรัฐบาล ได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พศ.2560-2579) กรอบแนวคิดด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันที่มุ้งเน้นการพัฒนาการผลิตและบริการให้สามารถแข่งขันได้ เกิดความยั่งยืน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและรายได้ดีขึ้น  คณะรัฐมนตรี จึงมีมติ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 ให้ความเห็นชอบการจัดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ปีงบประมาณ พศ.2561 จำนวน 150,000 ล้านบาท โดยมีแนวทางการพัฒนาเชิงฟื้นที่ผ่านกระบวนการประชาคม การเข้าถึงแหล่งลงทุน ในการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวในแต่ละท้องถิ่น

รำแม่นางด้ง

ไฮไลท์การเปิดชุมชนท่องเที่ยวบ้านโนนรัง ชมการแสดง”รำแม่นางด้ง” เป็นพิธีเซ่นไหว้วิญญาณนางด้งเข้ามาทรงในร่างหญิงสาว ผู้ร่วมเล่นทั้งหมดมีเด็กหนุ่มสาวและคนแก่  จะช่วยกันร้องเพลงนางด้งไปเรื่อยๆ จนกว่าวิญญาณของนางด้งจะเข้าทรงผู้เล่น พร้อมกับตีกลอง ฉิ่ง เป่าแคน พิธีเซ่นไหว้รำนางด้งนี้เป็นการขอฝน เสี่ยงทายฟ้าฝนแล้ง “รำแม่นางด้ง” เป็นการเล่นที่มาแต่สมัยโบราณ นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ นิยมทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  นอกจากนั้นยังมีการสาธิตสืบสานภูมิปัญญาการทำ ดอกโน จากต้นหม่อน การทอผ้าฟื้นบ้าน ผ้าไหม ผ้าฝ้าย การตัดเย็บผ้าไหม จักสานไม้ไผ่ พิธีบายศรีสู่ขวัญ  ชิมอาหารฟื้นถิ่น  ตลาดชุมชน มีจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ของชุมชน  ของที่ระลึกพร้อมรอให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสวิถีชุมชน

   จักสานไม้ไผ่

พิธีบายศรีสู่ขวัญ

 อำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีความโดดเด่นทางด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเป็นฟื้นที่ที่ไม่ไกลจากจังหวัดบุรีรัมย์มากนัก จึงเป็นทางเลือกสำหรับการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี หากดำเนินการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชน และ จังหวัดบุรีรัมย์กำหนด จะสามารถทำให้ชุมชนมีรายได้ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้.

ชุมชนบ้านโนนรัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีความโดดเด่นทางด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเป็นฟื้นที่ที่ไม่ไกลจากจังหวัดบุรีรัมย์มากนัก จึงเป็นทางเลือกสำหรับการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี หากดำเนินการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชน และ จังหวัดบุรีรัมย์กำหนด จะสามารถทำให้ชุมชนมีรายได้ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้.

ชิมอาหารฟื้นถิ่น  ตลาดชุมชน

มีจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ของชุมชน

 อำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีความโดดเด่นทางด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเป็นฟื้นที่ที่ไม่ไกลจากจังหวัดบุรีรัมย์มากนัก จึงเป็นทางเลือกสำหรับการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี หากดำเนินการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชน และ จังหวัดบุรีรัมย์กำหนด จะสามารถทำให้ชุมชนมีรายได้ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้.

ใส่ความเห็น