พระนักเทศน์ และตลกหมอลำชื่อดัง ให้ความสนใจนำดอกดินพืชประจำถิ่นใกล้สูญพันธ์ ที่โรงเรียนบ้านยายคำ จังหวัดบุรีรัมย์ เพาะพันธุ์ขยายพันธุ์อนุรักษ์ไว้

พระนักเทศน์ และตลกหมอลำชื่อดัง ให้ความสนใจนำดอกดินพืชประจำถิ่นใกล้สูญพันธ์ ที่โรงเรียนบ้านยายคำ จังหวัดบุรีรัมย์ เพาะพันธุ์ขยายพันธุ์อนุรักษ์ไว้ ไปปลูกขยายพันธุ์ต่อ
วันนี้(27 ส.ค.61) ที่โรงเรียนบ้านยายคำ ต.ย้ายแย้มวัฒนา อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ จัดกิจกรรมการกุศล ชื่องาน “ธรรมมะสุขสันต์ บทเพลงสดใส เลื่องลือระบือไกล ดอกดินบานที่บ้านยายคำ” เพื่อนำพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนพัฒนาจัดสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยการเพาะขยายพันธ์ดอกดินซึ่งเป็นพืชป่าประจำถิ่นใกล้สูญพันธ์ และหายาก ไปปลูกร่วมกับพืชอื่นๆบนพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียน มีประชาชน และส่วนราชการร่วมงานกันอย่างมาก


สำหรับสีสันการจัดงานในครั้งนี้ มีพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต พระนักเทศน์ชื่อดัง จากวัดสร้อยทอง เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการพร้อมแสดงธรรม และการแสดงตลก และร้องเพลง ของ ปอยฝ้าย มาลัยพร/ แม่ใหญ่สอน สร้างบรรยากาศสนุกสนานเป็นอย่างมาก ซึ่งต่อจากนั้นร่วมกันเปิดป้าย กกลุ่มเครือข่ายรักษ์ดอกดินแห่งประเทศไทย และร่วมกันปลูกดอกดินร่วมกับนายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น และในโอกาสนี้ พระมหาสมปองฯ ปอยฝ้าย มาลัยพร และแม่ใหญ่สอน ได้ขอรับพันธุ์ดอกดิน ไปปลูกเพื่อขยายพันธุ์อนุรักษ์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ ต่อไป


ด้านนายบุญลือ เทียนศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยายคำฯ เปิดเผยว่า ดอกดิน เป็นพืชประจำถิ่น พบมากที่บริเวณเขาพนมรุ้งและเขาอังคาร มีลักษณะคล้ายดอกกระเจียว ต่างกันที่ดอกดินมีลักษณะสีขาวมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ชาวบ้านนิยมนำไปประกอบอาหาร ลวกรับประทานกับน้ำพริก ปัจจุบันดอกดินเกิดเองตามธรรมชาติลดลงเรื่อยๆ เพราะความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ ความชุ่มชื้น สภาพอากาศที่เปลี่ยนไป รวมไปถีงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ที่เข้าไปหาของป่า ใช้ของมีคมงัด หรือขุดทำให้ หัว หรือ เหง้าของดอกดินเสียหายและเหี่ยวแห้งตายในที่สุด

จึงเกิดโครงการ พลิกฟื้นผืนป่าเพิ่มมูลค่าให้แผ่นดินตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2552 สามารถเพาะขยายพันธุ์ดอกดินด้วยเมล็ดได้มากกว่า 500,000 ต้นในขณะนั้นและขยายพันธุ์มาเรื่อยๆในพื้นที่ของโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน คนในพื้นที่ ตลอดทั้งบุคคลทั่วไปได้ศึกษาเพื่ออนุรักษ์พันธุ์พื้นท้องถิ่นให้คงอยู่เป็นแหล่งอาหาร สร้างรายได้เสริมให้ชุมชน ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ใส่ความเห็น