บุรีรัมย์ ลอยกระทงคึกคัก สืบสานประเพณีวัฒนธรรม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน

งานลอยกระทงที่จังหวัดบุรีรัมย์ คึกคักทุกอำเภอ แต่ละพื้นที่ต่างจัดงานกันท้วนหน้า หลังว่างเว้นจากการจัดงานมาหลายปี เพราะสถานการโรคโควิด-19 เทศบาลเมืองชุมเห็ดได้จัดกิจกรรมประกวดนางงามนพมาศ  ประกวดกระทงสวยงาม พร้อมวงดนตรีบันเลงให้คลายเหงาหลังถูกโควิด ล็อคไว้ 3 ปี ทุกคนต่างตื่นเต้นรีบมาลอยกระทงแบบครอบครัวและทั้งคู่หนุ่มสาว

วันที่ 8 พ.ย.65 เวลา 15.30 น.  ณ.บริเวณสระน้ำบ้านพรหมนิมิต ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี นายสนอง เทพอักษรณรงค์  สส.เขต 1 บุรีรัมย์ ร.ต.ต. สมชาย ภิรมย์ชาติ นายกเทศมนตรีเมืองชุมเห็ด คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล อดีตนายกเหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์ สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย ชมรมผู้สูงอายุ ผู้สนับสนุน ห้างร้าน บริษัท ต่างๆ หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานเทศบาลและประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมเห็ด ร่วมกันแต่งชุดด้วยผ้าไทยไปร่วมกิจกรรมประเพณีลอยกระทงปี 65 บรรยากาศการจัดงานลอยกระทง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นไปอย่างคึกคัก โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง ต่างจัดงานให้ชุมชนได้ร่วมกิจกรรมแทบทุกตำบล และได้มีการจัดงานลอยกระทงเป็นครั้งแรกในบริเวณสระน้ำบ้านพรหมนิมิตร หลังจากเจอกับโรคโควิด-19 ระบาด โดยปีนี้ได้มีการจัดกิจกรรมตั้งแต่ช่วงบ่ายไปจนถึงยามค่ำคืน

มีการจัดแข่งขันเซปักตะกร้อ ประกวดนางนพมาศ การแสดงศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น บ่ายมีกิจกรรมเดินแห่ขบวน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของเทศบาล และชาวบ้านได้มาร่วมสนุก ผ่อนคลาย กับช่วงเทศกาลลอยกระทง หลังจากนั้นได้มีการประกวดฟ้อนรำแห่ขบวนของแต่ละคุ้ม ไปตามถนนเพื่อแสดงให้เห็นถึงบรรยากาศเก่าๆได้กลับมาอีกครั้ง

ร.ต.ต.สมชาย ภิรมย์ชาติ  นายกเทศบาลเมืองชุมเห็ด  กล่าวว่า การจัดงานลอยกระทงปีนี้ ต้องการให้ชาวบ้านได้ออกมาจัดกิจกรรมร่วมกันเหมือนเดิม ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ ซึ่งจะจัดขึ้นในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 ขึ้น 15ค่ำ อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง เพื่อเป็นการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์และฟื้นฟู สืบสานประเพณีวัฒนธรรมของไทย เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสวิถีชุมชน ทำให้ชุมชนนั้นเกิดรายได้

นายมงคล เธียรวรรณ อยู่บ้านชุมมทอง พ่อค้ายำแหน่ม ขายมาแล้ว มา8 ปี เล่าให้ฟังว่า การที่เทศบาลเมืองชุมเห็ดจัดงานประเพณีลอยกระทง รู้สึกดีใจมากที่ผู้นำมีความเป็นกันเองและดูแลประชาชน ทำมาค้าขายและเศรษฐกิจขายของได้ดีขึ้น ชุมชนครึกครื้น ทุกคนมีความสุขกับประพณีและได้สืบสานประเพณีของไทย ชุมชนมีรายได้

จากการสังเกตผู้ที่มาร่วมงาน ชาวบ้านที่พาบุตรหลานมาลอยกระทง ต่างมีความตื่นเต้น โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุประมาณ 2-5 ขวบ ถือว่าได้เห็นประเพณีลอยกระทงครั้งแรกในชีวิต เพราะโรคโควิด-19 ทำให้เกิดศูนย์ยากาศไปช่วงหนึ่งของสังคมโลก

ใส่ความเห็น