ปราบยากาเสพติดกลับมาเป็นนโยบายสำคัญของรัฐ

นายจ้างจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับนโยบายตรวจสารเสพติด

ลูกจ้างปฎิเสธไปตรวจ เลิกจ้างใด้หรือไม่

มีคดีที่ศาลเคยวินิจฉัยว่า การที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฎิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดตรวจหาสารเสพติด และพบสารเสพติดในร่างกาย ย่อมเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับข้อห้ามเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดตามนโยบายด้านยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ซึ่งมีโทษถึงขั้นเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

การที่นายจ้างให้ลูกจ้างไปตรวจหาสารเสพติดซ้ำเพื่อให้โอกาสพิสูจน์ความบริสุทธิ์ แต่ปรากฎว่าลูกจ้างไปตรวจสารเสพติดเองที่โรงพยาบาลเอกชน โดยปฎิเสธที่จะไปตรวจจากโรงพยาบาลรัฐ

จึงเป็นการปฎิเสธการตรวจหาสารเสพติดโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามนโยบาย เรื่อง ยาเสพติดฯ การกระทำของลูกจ้างจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างที่ร้ายแรง

นายจ้างจึงเลิกจ้างลูกจ้างได้

ข้อสังเกต
คดีนี้ ศาลวินิจฉัยโดยนำเอากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 123(3) มาวินิจฉัย เพราะคดีนี้ลูกจ้างอ้างว่านายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องตามกระบวนการในกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งการเลิกจ้างที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะของ “การกระทำอันไม่เป็นธรรม”

แต่การเลิกจ้างที่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม มีข้อยกเว้นให้เลิกจ้างได้ คล้าย ๆ กับมาตรา 119 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นไม่จ่ายค่าชดเชย

ที่มา: คำพิพากษาฎีกาที่ 4962/2557

โดย : รองศาสตราจารย์ตรีเนตร สาระพงษ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

แอดมิน Pages กฎหมายแรงงาน

ใส่ความเห็น