โรงพยาบาลสังกัดกองทัพ เอาใบมรณบัตรขายเป็นกระดาษมือสอง โผล่เป็นถุงกล้วยแขก

กฎหมายกำหนดว่าข้อมูลคนตายไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล จึงอาจเข้าใจได้ว่าโรงพยาบาลไม่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
แต่อย่าลืมว่าในใบมรณะบัตรมีข้อมูลส่วนบุคคลของคนที่มีชีวิตด้วยไม่ใช่เฉพาะข้อมูลคนตาย แต่อาจมีข้อมูลของชื่อแพทย์ ข้อมูลเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการ ดังนั้น ในใบมรณบัตรจึงอาจมีข้อมูลส่วนบุคคลได้

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดไว้ในมาตรา ๓๗(๓) ว่าให้โรงพยาบาลในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อลบ หรือทำลายข้อมูลส่วนบุคลเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนด หรือที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือเกินความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ

ดังนั้นข้อมูลดังกล่าวจึงต้อง “ลบ” หรือ “ทำลาย” เท่านั้น ซึ่งระยะเวลาในการทำลายก็ได้บันทึกเอาไว้ในROpa หรือใน Privacy Notice แล้ว ก็ต้องปฎิบัติตามระยะเวลาที่บันทึกเอาไว้

จะนำมาชั่งกิโลขายไม่ได้ ซึ่งหลักการนี้ใช้กับทุกบริษัท ทุกองค์กร

กรณีนี้หากเป็นโรงพยาบาลของรัฐก็ต้องถือว่าหัวหน้างาน หรือผู้อำนวยการอาจผิดวินัยในฐานไม่ปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือแบบแผนทางราชการอันเป็นความผิดวินัย และอาจต้องรับผิดในโทษอาญา แพ่ง หรือโทษทางปกครองได้

แต่ถ้าเป็นภาคเอกชน หัวหน้างาน หรือผู้รับผิดชอบอาจต้องรับผิดถึงขั้นเลิกจ้างได้ เพราะกรณีนี้บริษัทก็มีความเสี่ยงที่จะรับโทษปรับทางปกครองที่กฎหมายกำหนดไว้สูงมาก

-บริษัทหรือองค์กรใดต้องการที่ปรึกษา ตอนนี้รับได้ ๑ บริษัทติดต่อได้ที่โทร 0721911757หรือไลน์ไอดี labourlaw

โดย : รองศาสตราจารย์ตรีเนตร สาระพงษ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

แอดมิน Pages กฎหมายแรงงาน

ใส่ความเห็น