ไม่ผ่านการทดลองงาน เป็นการเลิกจ้างหรือไม่

คำว่า “เลิกจ้าง” หรือไม่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าเลิกจ้างแล้วก็จะมีสิทธิเรียกค่าจ้างค้างจ่าย เรียกค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือฟัองคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างสงสัยว่ากรณีนี้เลิกจ้างแล้วหรือไม่

คำตอบคือต้องถือว่าเลิกจ้างแล้ว เพราะเป็นการกระทำที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้(ตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสาม) ซึ่งจากข้อเท็จจริงในหนังสือที่ลูกจ้างได้รับจะมีข้อความว่า

“โดยให้ถือว่าหนังสือฉบับนี้เป็นการแจ้งผล และให้สิ้นสุดการทดลองงานในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๕ พร้อมขอให้ท่านส่งมอบเอกสาร…” แต่ปรากฎว่าเรื่องนี้แปลกตรงที่นายจ้างเรียกให้กลับไปทำงาน และอ้างว่ายังไม่ได้เลิกจ้าง

จุดนี้สำคัญเพราะการที่นายจ้างเรียกกลับไปทำงาน หากลูกจ้างไม่ไป นายจ้างก็อาจอ้างว่าลูกจ้างขาดงานเกิน ๓ วัน จึงถูกเลิกจ้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงเป็นการเลิกจ้างแล้ว การเรียกกลับไปทำงาน หรือบังคับบัญชาหลังจากเลิกจ้างแล้วไม่สามารถทำได้ ดังนั้น จึงไม่มีอาจเลิกจ้างบุคคลที่พ้นจากการเป็นลูกจ้างแล้วได้อีก

การเรียกกลับไปทำงานจึงเป็นคำเสนอเชิญชวนมาทำงานใหม่ หากลูกจ้างไม่ไปหรือไม่ตกลงก็ไม่มีความผูกพันเป็นนายจ้างลูกจ้างกันแค่นั้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงเป็นการเลิกจ้างแล้ว การเรียกกลับไปทำงาน หรือบังคับบัญชาหลังจากเลิกจ้างแล้วไม่สามารถทำได้ ดังนั้น จึงไม่มีอาจเลิกจ้างบุคคลที่พ้นจากการเป็นลูกจ้างแล้วได้อีก

เรื่องนี้ ลูกจ้างไปร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดแห่งหนึ่งแถวภาคกลางแล้ว

เมื่อร้องแล้วก็สงสัยว่าตนเองถูกเลิกจ้างหรือไม่ ประเด็นนี้หากข้อเท็จจริงไม่เปลี่ยนไปจากนี้ เจ้าหน้าที่เขาก็จะวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างแล้ว และก่อให้เกิดสิทธิในการได้รับเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าจ้างค้างจ่าย แต่ค่าชดเชยไม่ได้รับเพราะทดลองงานไม่ครบ ๑๒๐ วัน

โดย : รองศาสตราจารย์ตรีเนตร สาระพงษ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

แอดมิน Pages กฎหมายแรงงาน

ใส่ความเห็น