ศาลนางรองร่วมลงนามภาคี รองรับผู้เสพยาคาดจะมีเพิ่มขึ้นตามกฎหมายใหม่

ศาลจังหวัดนางรอง บุรีรัมย์ ร่วม สนง.คุมประพฤติ และอีก 12 โรงพยาบาล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งตัวจำเลยให้สถานพยายาบาลยาเสพติด เพื่อรับรองบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ระบุมีแนวโน้มผู้เสพเพิ่มขึ้น

วันที่ 22 ก.ค. 65 ที่ห้องกัญจนาโรงแรมโชคูลแกรนด์ ต.นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ นายสรพงค์ ไกรสุวรรณ์ ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ช่วยงานงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนางรอง

ร่วมกับนางสาวกันฑ์จนา คิดนุนาม ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง นายวัชรพงษ์ ชอบสุข ผู้คอำนวยการโรงพยาบาลนางรอง พร้อมด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลใตเขตอำนาจศาลจังหวัดนางรอง รวมทั้งสิ้น 12 หน่วยงาน

ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งตัวจำเลยให้สถานพยาบาลยาเสพติด เพื่อรับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพตามประมวลกฎหมายยาเสพติดโดยมีนายพิเชษฐ พืดขุนทด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ นายสุพรรณ หาญวารี สาธารณสุขอำเภอนางรอง และนายบุญโฮม แก้วชนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำหลายมาศ ร่วมเป็นสักขีพยาน และอัยการจังหวัดนางรอง นายอำเภอนางรอง และผู้บัญชาการเรือนจำ อ.นางรอง

นายสรพงศ์ ไกรสุวรรณ์ ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นฯ กล่าวว่า ตามที่ได้มีพระราชบัญญัติให้ให้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ประมวลกฎหมายยาเสพติด และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด(ฉบับที่2)พ.ศ.2564 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบิกษา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากการประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

คือวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 โดยกำหนดให้ประมวลกฎหมายยาเสพติดใช้บงคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติให้ใช้ปรามวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย การนำเงื่อนไขเพื่อคุมพระพฤติมาใช้แทนการลงโทษ หรือการให้ส่งตัวจำเลยไปเข้ารับการบำบัดรักษาในความผิดฐานเสพยาเสพติดหรือมีไว้ในครอบครอบซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพ พ.ศ.2564 ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว

โดยมุ่งเน้นการดูแลผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด ด้วยกลไกสาธารณสุขแทนการดำเนินคดีทางอาญา แก้ไขปัญหาตามสภาพปัญหาที่แท้จริงของการเสพติด โดยถือว่า”ผู้เสพ ผู้ติดคือผู้ป่วย” เน้นการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ พฤติกรรมและสังคม ควบคู่ไปกับการบำบัดรักษา เพื่อลดละ เลิกยาเสพติด และลดอันตรายจากยาเสพติด

รวมถึงการส่งเคราะห์และติดตามดูแลช่วยเหลือ ตั้งแต่เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ผ่านประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้กำหนดสถานพยาบาลที่รับส่งต่อผู้ป่วยยาเสพติดตามดุลพินิจศาล ซึ่งในเขตอำนาจศาลจังหวัดนางรอง กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้โรงพยาบาลนางรอง เป็นสถานพยาบาลที่รับส่งต่อผู้ป่วยยาเสพติดตามดุลพินิจศาลเพียงแห่งเดียว

นายสรพงศ์ กล่าวด้วยว่า เพื่อให้การปฏิบัติงานทางธุรการเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและสอดคล้องเป็นไวปในทิศทางเดียวกัน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และลดปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน จึงได้มีการตกลงร่วมมือกัน

จะส่งผู้ป่วยยาเสพติดจากที่จะต้องไปรักษาบำบัดที่โรงพยาบาลนางรอง เพียงแห่งเดียว มาเป็นส่งตัวผู้ป่วยเข้าบำบัดรักษา ไปโรงพยาบาลอีก 12 แห่ง โรงพยาบาลนางรอง และโรงพยาบาลในเขตอำนาจศาลจังหวัดนางรอง ได้แก่ โรงพยาบาลโนนสุวรรณ โรงพยาบาลหนองกี่ โรงพยาบาลปะคำ โรงพยาบาลโนนดินแดง โรงพยาบ่าลละหานทราย โรงพยาบาลบ้านกรวด โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลหนองหงส์ และโรงพยาบาลชำนิ รวมทั้งสิ้น 12 หน่วยงาน

เพื่อลดความแออัด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียว ทั้งยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับญาติผู้เสพ ไปมาหาสู่บุตรหลานได้ ทั้งนี้กฎกระทรวง ที่จะระบุได้ว่าผู้ถือครองยาเสพติดจำนวนไม่เกินเท่าไหร่ จึงจะเรียกว่ามีไว้เพื่อเสพ แต่มีแนวโน้มผู้เสพอาจจะเพิ่มมากขึ้น

ใส่ความเห็น