ปชส.จังหวัดบุรีรัมย์ นำสื่อมวลชนศึกษาโครงการ โคก หนอง นา โมเดล อำเภอโนนสุวรรณ

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ นำสื่อมวลชนศึกษาโครงการ โคก หนอง นา โมเดล พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ในพื้นที่อำเภอโนนสุวรรณ

วันนี้(31 ส.ค. 64) สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ นำสื่อมวลชน ประกอบด้วย สื่อทีวี นักจัดรายการวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโซเชียลมีเดีย และอาสาสมัครประชาสัมพันธ์ประจำหมู่บ้าน/ชุมชน(อป.มช) ที่ได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แล้ว จำนวน 20 คน เดินทางไปศึกษาการดำเนินงาน โครงการโคก หนอง นา โมเดล ครัวเรือนต้นแบบของนายสมบัติ อ่อนน้ำคำ บ้านทุ่งหรรษา หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้มีการพัฒนานายอดจากเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่ โคก หนองนา โมเดล ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้บริหารจัดการน้ำ และพื้นที่การเกษตรที่หลากหลายและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยมีป้าหมายให้สื่อมวลชนทุกแขนงได้เข้าศึกษาพื้นที่การดำเนินงานของครัวเรือนต้นแบบและนำแนวคิด หลักการทำงาน และกิจกรรมต่างๆ จากการน้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม ไปเผยแพร่สู่สาธารณะชนให้รับทราบ สำหรับครัวเรือนต้นแบบโครงการ โคก หนอง นา โมเดล ของนายสมบัติ อ่อนน้ำคำ ได้น้อมนำศาสตร์พระราชา เกษตรทฤษฎีใหม่ ของในหลวงรัชการที่ 9 ไปดำเนินงาน บริหารจัดการพื้นที่แปลงเกษตรของตนเอง

จากทำนาปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว และใช้สารเคมี หลังฤดูเก็บเกี่ยวก็จะปล่อยพื้นที่ว่าง ในลักษณะเช่นนี้ทุกปี ทำให้ดินมีสภาพเสื่อมโทรม ต้องใช้สารเคมีมากขึ้น จึงได้ลองหันมาทำเกษตรอินทรีย์ ผสมผสานมีพืชหลากหลายชนิด ต่อมาได้เข้าร่วมโครงการ โคก หนอง นาโมเดลของกรมพัฒนาชุมชน โดยการปั้นคันนาให้ใหญ่ขึ้น ขุดสระ ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น โดยเริ่มจากนำพืชที่มีอยู่แล้วไปปลูกเพิ่มเรื่อยๆ มีการเลี้ยงสัตว์ ไก่ เป็ด ปลา กบ ซึ่งส่วนหนึ่งสามารถให้ผลผลิตได้แล้ว นายสมบัติ อ่อนน้ำคำนายสมบัติ อ่อนน้ำคำ ยังฝากแนวคิดถึงผู้ที่ทำการเกษตร และผู้ที่คิดจะทำการเกษตรว่าอย่าเร่งรีบลงทุน ลงแรงทำให้มากจนเกินไป เพื่อต้องการให้เกิดรายได้เร็ว แท้จริงแล้วการทำการเกษตรแบบโคก หนอง นาโมเดล เป็นการทำเกษตรด้วยใจ ทำไปเรื่อยๆ ค่อยเป็นค่อยไปด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ความมุ่งมั่น เพราะการทำการเกษตรต้องใช้เวลาระยะหนึ่งจึงจะเห็นผลที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน

กลุ่มแปรรูปผ้า บ้านทุ่งพัฒนา ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ สร้างนวัตกรรม “ผ้าโควา” ย้อมสีธรรมชาติด้วยมูลวัว พิมพ์ลายด้วยสีของใบไม้หลายชนิด กลายเป็นเอกลักษณ์ผ้าโดดเด่นของท้องถิ่นที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

วันนี้ (31ก.ย. 64) ที่กลุ่มแปรรูปผ้าโควา ตั้งอยู่ที่หมู่ 14 บ้านทุ่งจังหัน อ.โนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการใช้ภูมิปัญญาคิดค้นการย้อมฝ้ายด้วยมูลวัว ล้างด้วยน้ำแร่ธรรมชาติ และยังคิดค้นวิธีพิมพ์ลายด้วยใบไม้ เช่น สบู่เลือด ใบสัก ใบเพกา หรือลิ้นฟ้า ซึ่งจะให้ลวดลายและสีธรรมชาติจากใบไม้ที่สวยงามแตกต่างกัน แล้วนำไปแปรรูป ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า ของใช้ ของฝาก ของที่ระลึก ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร อีกทั้งยังสามารถยกระดับเป็นสินค้าโอทอป ที่ได้รับความนิยมอีกด้วย นางบุปผา ศรีเสถียร ประธานกลุ่มแปรรูปผ้าโควา เปิดเผยว่า เมื่อหลายปีก่อนจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีการจัดประกวดแฟชั่นผ้าไหม คนในหมู่บ้านเห็นว่ามีความสามมารถการตัดเย็บเสื้อผ้า จึงลองส่งเข้าแข่งขัน ซึ่งขณะนั้น มีเวลาเพียง 3 วัน ผลการปรากฏว่าได้รับรางวัลชะเลิศอันดับ 2 ของจังหวัด หลังจากนั้นในปี 2552 ได้เริ่มมีการตั้งกลุ่มขึ้น โดยเริ่มชักชวนชาวบ้านร่วมกลุ่มทอผ้าลายแบบพื้นบ้านธรรมดา และเริ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ออกไปจำหน่ายตามงานต่าง ๆ กระแสตอบรับดีมาก เมื่อมีการออกแบบสินค้าตัวใหม่จำหน่ายได้ไม่นาน ก็จะมีสินค้าแปรรูปแบบคล้าย ๆกันวางจำหน่ายในร้านค้าอื่นๆ แต่คุณภาพของผ้าไม่เหมือนกัน และในช่วงนั้นผ้าต่าง ๆ มีเยอะมาก จะคล้ายๆกันทุกที่ จึงเป็นจุดเปลี่ยน ให้มีแรงผลักดันที่จะคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ของอำเภอโนนสุวรรณ ที่ต้องไม่ซ้ำกับที่อื่น และไม่ให้ที่อื่นทำเลียนแบบได้ จึงได้ทดลองหาวิธีย้อมผ้าจากวัตถุดิบธรรมชาติหลายอย่างหลายวิธี ด้วยในพื้นที่อำเภอโนนสุวรรณมีการเลี้ยงวัวนมอยู่แล้ว และได้ทดลองนำมูลวัวเป็นวัตถุดิบหลักในการย้อมฝ้า ผลที่ได้ คือสีที่ได้จะเป็นสีเขียวขี้ม้าสวยงาม จึงตั้งชื่อว่า “ผ้าโควา” มาจาก มูลวัว + วารี คือน้ำแร่ธรรมชาติขึ้นชื่อของอำเภอโนนสุวรรณ และ “ผ้าโควา” กลายเป็นผ้าประจำอำเภอโนนสุวรรณ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากการทอผ้าได้เป็นอย่างดี นางบุปผา ศรีเสถียร กล่าวอีกว่า จากนั้นได้มีการต่อยอด จากผ้าโควา ให้มีสีสัน ลวดลายโดดเด่น ที่ไม่เหมือนใครอีก ด้วยความคิดที่ว่า กลุ่มไม่สามารถทอผ้าลายต่าง ๆ เหมือนที่อื่น คงเป็นไปไม่ได้ และต้องหากิจกรรมให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในหมู่บ้านได้เรียนรู้ ปฏิบัติ และสามารถนำผลงานของตนเองกลับไปได้ จึงได้คิดค้นการพิมพ์ลายผ้าด้วยใบไม้ เช่น ใบสบู่เลือด ใบสัก ใบเพกา หรือลิ้นฟ้า ใบจากต้นปีบ ผลที่ออกมา ดีเกินความคาดหมาย เป็นลายที่ไม่ซ้ำ และไม่เหมือนใคร ส่งผลการตอบรับดีมาก ก่อนจะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ไปร่วมแสดง และจำหน่ายสินค้าตามสถานที่ต่าง ๆ จะมีลูกค้า และเข้าไปเยี่ยมชมเลือกซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง จนผลิตไม่ทัน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนมากขึ้นด้วย

อาจเป็นรูปภาพของ 6 คน, ผู้คนกำลังยืน และกลางแจ้ง

ใส่ความเห็น